การเลือกหัวข้อโปรเจคนั้น อย่างแรกคือต้องเลือกตามที่ตัวเองถนัดและสามารถเรียนรู้ต่อยอดเองได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งที่เหมือนในวิชาเรียนเสมอไป อาจนำองค์ความรู้อื่น ๆ จากสาขาวิชานอกเหนือมาที่เราเรียนมาประยุกต์เข้ากับโปรเจคของเราได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้เรียนมีความถนัดในเรื่องการเรียนบทความ และสนใจในเรื่องการเขียนโปรแกรมด้วยเช่นกันเราอาจจะนำทั้ง 2 อย่างนี้มารวมเข้าด้วยกันออกเป็นผลงานที่น่าตื่นเต้นได้
เข้าหาอาจารย์ที่มีความชำนาญหรือความสนใจในเรื่องที่เรากำลังศึกษา หรืออยากทำเพราะ หากอาจารย์สนใจจะทำให้เรามีที่ปรึกษาที่ดีได้ตลอดโปรเจคของเรา ดังนั้นอาจารย์ก็มีเรียนสำคัญกับโปรเจคว่าจะออกมาเป็นอย่างไรเหมือนกัน เมื่ออาจารย์ท่านมีความสนใจกับโปรเจคที่เรานำเสนอแล้วก็ตกลงโอเค เลือกเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
คิดค้นสิ่งที่แปลกใหม่แต่ไม่ยากจนเกินความสามารถของเรา ดูสถานการณ์ปัจจุบันว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงหรือสร้างอะไรใหม่ ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้ ยกตัวอย่างเช่น ณ ตอนนี้มีเหตุการเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้เขียนมีความสามารถในการเขียนบทความ มีความสามารถในการเขียนโปรแกรม และอยากสร้างชิ้นงานที่ทันสมัยและใหม่ ก็อาจจะสร้างชิ้นงานเป็นแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการรายงานข่าวโควิด-19 แบบ Realtime ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนยอดการตาย หรือจำนวนยอดผู้ที่รักษาหาย และรายงานสถานที่เสี่ยงที่มีการติดเชื้อเป็นแผนที่ให้ผู้ใช้งานเฝ้าระวังเป็นต้น
เลือกสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ จะทำให้ผลงานโปรเจคของเรานั้นมีคุณค่าขึ้น และสามารถนำมาใช้ได้จริง และจะเป็นประโยชน์กับเราในอนาคตมาก ไม่ว่าจะเป็นผลงานให้กับมหาลัยและเป็นผลงานในการสมัครงานที่จะได้คะแนนจากส่วนนี้ไปเต็ม ๆ เพราะโปรเจคเป็นสิ่งที่บอกอะไรในตัวเราหลายอย่างว่าเรามีความสนใจ มีความถนัดอะไรได้
หากเพื่อน ๆ คนไหนกำลังหาหัวข้อหรือยังไม่รู้จะทำอะไรแนะนำ ให้เข้าห้องสมุดของมหาลัยเพราะจะมีผลงานของรุ่นพี่ในแต่ละรุ่น เราสามารถนำมาประยุกต์ให้มีความแปลกใหม่หรือมีประโยชน์มากขึ้นได้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นในการสร้าง Project จบได้เป็นอย่างดี
ฝากติดตามบทความที่เกี่ยวกับการทำโปรเจคจบดีๆ ด้วยนะครับ หากสนใจจ้างทำโปรเจคจบสามารถติดต่อสอบถามเข้ามาตามช่องทางที่ให้ไว้ได้เลยครับ