ศาลพิพากษาดำเนินคดีเอาผิดเพจ facebook รับแลก ม33เรารักกัน เป็นเงินสด ลงโทษทั้งจําทั้งปรับ พร้อมรอลงอาญา 2 ปี โดยเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.00 น. พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจําสํานัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจํากระทรวงแรงงาน พล.ต.ต.รณชัย จินดามุข ผู้บังคับการ ตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 และนางสาวลัดดา แซ่ลี ผู้อํานวยการ สํานักสิทธิประโยชน์ ในฐานะรองโฆษกสํานักงานประกันสังคม ร่วมแถลงข่าวผ่าน Facebook สํานักงาน ประกันสังคม เกี่ยวกับผลการดําเนินคดีของศาลพิพากษาผู้กระทําผิดเงื่อนไข โครงการ ม.33เรารักกัน จํานวน 7 ราย พร้อมลงโทษทั้งจําทั้งปรับ พร้อมรอลงอาญา 2 ปี
นางสาวลัดดา แซ่ลี้ ผู้อํานวยการสํานักสิทธิประโยชน์ ในฐานะรองโฆษกสํานักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือเยียวยา แบ่งเบาภาระค่าครองชีพ และลดผลกระทบของผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 รอบที่แล้ว และได้มอบหมายกระทรวงแรงงาน โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จัดทําโครงการ ม33เรารักกัน ให้ผู้ประกันตน ได้รับสิทธิคนละ 4,000 บาทต่อคน ให้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ด้วยวิธีการโอนวงเงินผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการกับผู้ประกอบการ/ร้านค้า/บริการ ที่ได้รับอนุญาตเข้าร่วมโครงการ ม33เรารักกัน ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2564 ซึ่งจากการตรวจสอบติดตามการใช้สิทธิดังกล่าวของสํานักงาน ประกันสังคม ซึ่งได้ตรวจสอบข้อมูลจากสื่อโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มต่างๆ กลับพบเบาะแสว่ามีผู้ใช้งานบัญชี ในแอปพลิเคชั่น ประกาศเชิญชวนรับซื้อขายสิทธิโครงการ ม33 เรารักกัน เป็นเงินสด โดยไม่มีการซื้อขายสินค้า หรือบริการกันจริง ซึ่งเป็นกระทําโดยทุจริตผิดเงื่อนไขของโครงการ จึงได้มอบนโยบายให้สํานักงานประกันสังคม ดําเนินคดีกับผู้ทุจริตผิดเงื่อนไขของโครงการ ม33 เรารักกัน อย่างเด็ดขาด
โดยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสํานักงานประกันสังคม พร้อมทีมกฎหมายสํานักงาน ประกันสังคม เข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ณ กองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารพระชนมพรรษา 60 พรรษา จังหวัดนนทบุรี เพื่อดําเนินคดี กลุ่มผู้ต้องหาทุจริตโครงการ ม33เรารักกัน โดยสํานักงาน ประกันสังคม ได้รับการประสานความร่วมมือจากกองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ภายใต้การอํานวยการสั่งการ โดยพลตํารวจเอกสุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ, พลตํารวจเอกสุชาติ ธีระสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ, พลตํารวจโทปรีชา เจริญสหายานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ, พลตํารวจโทกรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตํารวจ สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และพลตํารวจตรีภาณุมาศ บุญญลักษม์ รองผู้บัญชาการ ตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยสั่งการให้ พลตํารวจตรีรณชัย จินดามุข ผู้บังคับการ ตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1, พลตํารวจตรีออมสิน ตรารุ่งเรือง ผู้บังคับการ ตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 และเจ้าหน้าที่ตํารวจในสังกัด โดยประสานความร่วมมือกับสํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และเจ้าหน้าที่ตํารวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1 ได้ทําการสืบสวน ทางสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานการกระทําผิด และสามารถระบุตัวผู้กระทําความผิด
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 ทีมกฎหมายของสํานักงานประกันสังคม พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้สืบสวนสอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการดําเนินคดีร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตํารวจกองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ ความรับผิดชอบของสถานีตํารวจนครบาลบางเขน และได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดําเนินคดีกับบุคคล ซึ่งได้ประกาศโฆษณารับแลกเงินสด โครงการ ม33เรารักกัน และดําเนินการรับซื้อขายสิทธิจากผู้ประกันตน ม33 รับแลกเป็นเงินสดแต่ไม่มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการกันจริง จํานวน 7 ราย วันที่ 9 เมษายน 2564 สํานักงานประกันสังคม ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สถานีตํารวจนครบาลบางเขน เพื่อดําเนินคดีทุจริตผิดเงื่อนไขของโครงการ ม33เรารักกัน ซึ่งพนักงานสอบสวน ได้รับแจ้งไว้แล้วตามรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดีลําดับที่ 14 ลงวันที่ 9 เมษายน 2554 เวลา 14.30 น. โดยมีพันตํารวจโทอนิรุทธิ์ พูลสวัสดิ์ สารวัตรสอบสวน สถานีตํารวจนครบาลบางเขน เป็นพนักงานสอบสวน เจ้าของคดีผลการสืบสวนปรากฏว่า กลุ่มผู้กระทําผิดทั้ง 7 รายนี้ มีพฤติการณ์เป็นร้านค้าที่ร่วมโครงการฯ ประกาศชักชวนผ่านแอปพลิเคชัน Facebook เชิญชวนผู้มีสิทธิให้นําสิทธิผู้ประกันตนมาแลกสิทธิเป็นเงินสด แทนการซื้อของจากร้านค้า ซึ่งเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ถือเป็นการทุจริตโครงการ ม33เรารักกัน และมีผู้หลงเชื่อกลุ่มผู้ต้องหาจํานวนมาก ซึ่งเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา มีผู้ต้องหามาพบ 3 ราย ตามหมายเรียกผู้ต้องหาครั้งที่ 2 พนักงานสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทําความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งมีอัตราโทษจําคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ และโทษทางอาญาอื่นๆ และในวันที่ 30 เมษายน 2564 พนักงานสอบสวนได้นําตัวผู้ต้องหาซึ่งให้การรับสารภาพ จํานวน 3 ราย ไปยังศาลแขวงพระนครเหนือเพื่อให้พนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาล ผลคดี ศาลพิพากษาลงโทษ จําคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท โดยให้รอลงอาญาโทษจําคุกเป็นเวลา 2 ปี ให้คืนเงิน 500 บาท แก่ผู้เสียหายส่วนผู้ต้องหาอีก 4 ราย อยู่ระหว่างดําเนินการตามกฎหมายต่อไป
นายสุชาติ ชมกลิม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงาน ฝากประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ประกันตนที่มีสิทธิตามโครงการ ม33เรารักกัน ขออย่าได้หลงเชื่อการประกาศเชิญชวนรับแลกสิทธิ โดยไม่ได้มีการซื้อสินค้าหรือบริการจริงในร้านค้า ที่ได้รับอนุญาต เพราะอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และอาจจะตกเป็นเหยื่อร้านค้า ที่เป็นมิจฉาชีพหลอกแลกสิทธิให้โอนเงินซื้อสิทธิ โดยอาจจะไม่ได้รับเงินจากร้านค้าที่เป็นมิจฉาชีพ ในกรณีร้านค้าที่กระทําผิดจะได้รับโทษทางอาญาจําคุกและปรับ ในส่วนของเจ้าของสิทธิที่นําสิทธิไปแลก ตามคําเชิญชวนของร้านค้า อาจเข้าข่ายร่วมกันกระทําความผิดฐาน “ฉ้อโกง” อีกด้วย
อ้างอิง สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน cover ม33เรารักกัน