คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน สู้โควิด 19 หลังไทยกำลังเผชิญการระบาดของโควิด 19 ครั้งใหญ่ที่ใหญ่ที่ระบาดหนักและกระจายอย่างรวดเร็วมากกว่าครั้งก่อนๆ โดยคู่มือนี้ได้ตอบคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับโควิด 19 ที่เข้าใจง่าย ครบถ้วน และปฏิบัติได้ทันที มาดูสิ่งที่ต้องรู้และต้องทำในการป้องกันไม่ให้โควิด 19 เข้ามาแพร่เชื้อ หรือรับมือ ในกรณีตรวจพบเชื้อกัน
ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (COVID-19) เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถ ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ หลังติดเชื้ออาจไม่มีอาการ หรืออาจมีอาการ ตั้งแต่ไม่รุนแรงคือ คล้ายกับไข้หวัดธรรมดา หรืออาจก่อให้เกิดอาการรุนแรง ที่เจอบ่อยสุดคือเป็นปอดอักเสบเพราะเชื้อลงปอดจนเสียชีวิตได้ โดยโควิด 19 ติดได้จาก 3 รู เข้าสู่คนผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ํามูก น้ําลายของคน จึงมี 3 รูที่ต้องระวัง คือ รู้น้ำตา รูจมูก รูปาก เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อ 3 รูนี้ต้อง ไม่ขยี้ตา ไม่แคะจมูก ไม่จับปาก
1.เพิ่งกลับจาก พื้นที่เสี่ยง 2.สัมผัสใกล้ชิด ผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ แนะนำแยกตัวเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พัก 14 วัน
ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ หรือภูมิแพ้ เด็กเล็กต่ํากว่า 5 ปี • อยู่บ้าน หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด • ล้างมือบ่อยๆ รักษา 3 รู “ตา จมูก ปาก” • เว้นระยะการใกล้ชิด 2 เมตรและสวมหน้ากากผ้า
1.แยกห้องนอนและห้องน้ําออกจากผู้อื่น ห้องพัก โปร่ง มีอากาศถ่ายเท แสงแดดเข้าถึง) 2.แยกของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วน้ํา) แยกทําความสะอาด 3.มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น ปรอทวัดไข้ แอลกอฮอล์เจลเข้มข้นอย่างน้อย 70% หน้ากากอนามัย สบู่ 4. มีอุปกรณ์ทําความสะอาด เช่น ถุงขยะ โดยจัดถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิดไว้นอกบ้าน สารฟอกขาว น้ำยาทําความสะอาด
อาจมีการคัดกรองผู้พักอาศัยด้วยการสังเกตอาการเบื้องต้น หรือใช้เครื่องมือวัดไข้ หากพบว่ามีไข้ อุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ น้ํามูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ให้แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือแจ้ง 1669 เพื่อประสานการรับตัวไปพบแพทย์ ทั้งนี้ต้องไม่ใช้รถสาธารณะในการเดินทาง
ทําความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางเป็นประจําทุกวัน เพิ่มความถี่ในจุดเสี่ยงโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ ตู้จดหมาย เก้าอี้ โต๊ะ ป้ายประชาสัมพันธ์ อุปกรณ์ฟิตเนส บริการเจลแอลกอฮอล์ 70% บริเวณ จุดเข้าออกต่างๆ เช่น หน้าลิฟต์ ประตูเข้า-ออกอาคาร พื้นที่ส่วนกลาง สื่อสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางปฏิบัติตัวให้ผู้อยู่อาศัยรับทราบ
มีอาการไข้ อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 °C ตัวร้อน ปวดเนื้อปวดตัว หนาวสั่น มีอาการระบบ ทางเดินหายใจ ไอ จาม เจ็บคอ มีน้ํามูก หายใจลําบาก • ให้ไปพบแพทย์ โดยแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือแจ้ง 1669 เพื่อประสานการรับตัว • ไม่ใช้รถสาธารณะในการเดินทาง โดยสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา
ยังมีข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นอีกมากได้แก่ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษากรณีติดเชื้อโควิด-19 การดูแลตัวเองสำหรับโรคเบาหวาน วิธีดูแลเด็กในช่วงโควิด 19 สามารถดูและดาวน์โหลดอ่านได้จาก คู่มือฉบับเต็มนี้ ดาวน์โหลดฟรี คลิกที่นี่